เมนู

10. พลสูตร


ว่าด้วยกำลังพระตถาคต 6 ประการ


[335] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 6 ประการนี้ ที่พระ
ตถาคตประกอบแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท
ในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง 6 ประการเป็นไฉน คือ ตถาคต
ย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะ
โดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะในโลกนี้ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง
ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ
นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก
บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัดตาม
เป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดย
ปัจจัย โดยเหตุ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรม-
สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุ นี้ย่อมเป็น
กำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท
ในบริษัท ประกาศพรหมจักร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัดตาม
เป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งความ
เศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ
นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก
บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ
ฉะนี้ แม้การที่ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่ง
บ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้
อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์
ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม
รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ แม้การที่ตถาคตย่อมพิจารณาเห็น
หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่ง
ตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโต-
วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้การที่ตถาคตย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย
ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจกบันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 6 ประการนี้แล ที่ตถาคตประกอบ
แล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะของผู้โจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกำลังของตถาคต 6 ประการเหล่านั้น หาก
ว่าชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่ง
ฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะไซร้
ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ. และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความ
เป็นเหตุมิใช่ฐาน ะ อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคตถูกถามปัญหา
แล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และ
เหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม
เป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยปัจจัย โดยเหตุไซร้ ความรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน
ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันอันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคต
ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรม-
สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม
เป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติไซร้ ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว
ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ อันตถาคตทราบชัดด้วย
ประการใด ๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง
ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม
เป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึก
ชาติก่อนได้ อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว

ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ แก่ชนเหล่า
นั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม
เป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติ
และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคตถูก
ถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของ
สัตว์ทั้งหลาย แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม
เป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่ง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคต
ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งความรู้ตามเป็นจริงซึ่งฐานะ
โดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะนั้นว่า
เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าว เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัยโดยเหตุนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น
ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตาม
เป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัตินั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็น
ของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึก
ชาติก่อนได้นั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล
ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของสัตว์

ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล
ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มี
ใจไม่ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นเป็นทางถูก ความไม่ตั้งใจมั่น
เป็นทางผิด ด้วยประการฉะนี้แล.
จบพลสูตรที่ 10

อรรถกถาพลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาพลสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาสภํ ฐานํ ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐสุด คือฐานะอันไม่
หวั่นไหว. บทว่า สีหนาทํ ได้แก่ การบันลืออย่างไม่เกรงกลัว คือบันลือ
ในฐานะเป็นประมุข. บทว่า พฺรหฺมจกฺกํ ได้แก่ จักรคือญาณอันประเสริฐ
คือปฏิเวธญาณ และญาณที่เหลือ. บทว่า ฐานญฺจ ฐานโต ได้แก่รู้เหตุ
โดยความเป็นเหตุ. บทว่า ยมฺปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทมฺปิ
ตถาคตสฺส
ความว่า ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นตถาคตพละของพระ
ตถาคต. แม้ในบททั้งปวงก็พึงทราบความอย่างนี้.
บทว่า กมฺมสมาทานานํ ได้แก่กุศลกรรม และอกุศลกรรมที่บุคคล
ตั้งใจกระทำแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นเอง ชื่อว่า กรรมสมาทาน. บทว่า
ฐานโส เหตุโส ความว่า ทั้งโดยปัจจัย ทั้งโดยเหตุ. บรรดาฐานะและเหตุ
ทั้งสองอย่างนั้น คติ (กำเนิดมีนรกเป็นต้น) อุปธิ (อัตภาพ) กาล (เวลา